นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ในฐานะโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (ศบค.) แถลงถึงสาเหตุที่ยังต้องคง พรก.ฉุกเฉินฯ เอาไว้ทั้งที่สถานการณ์ในประเทศไทยนั้นคลี่คลายลงแล้วก็ตามว่า เพื่อความสะดวกในการบูรณาการร่วมกันทุกฝ่ายให้สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงทu
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อไปว่า ก่อนหน้าที่จะมีพรก.ฉุกเฉิน นั้น ประเทศไทยเรามี พรบ.ควบคุมโรคติดต่อเพียงอย่าวเดียว ทำให้การทำงานข้ามกระทรวงกันมีความยุ่งยากซับซ้อน การประชุมสั่งการจากกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งยังไม่ได้ประสิทธิภาพที่ดีพอ และไม่รวดเร็ว หลังจากที่มีการประกาศพรก.ฉุกเฉินฯ เท่ากับมีการรวมกฎหมายต่างๆ มารวมเอาไว้กว่า 40 ฉบับ ทำให้เห็นการบูรณาการกันทุกฝ่าย ทั้งในเรื่องการคมนาคม การตรวจคนเข้าเมือง ทำให้สามารถยับยั้งการแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว
แม้กระทั่งเรื่องของหน้ากากอนามัยที่ขาดแคลนกันในช่วงแรก หลายฝ่ายต่างมอบหมายกระทรวงสาธารณสุขจัดการให้เพียงพอ แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้ประเทศไทยจะมีโรงงานผลิตแต่ทางโรงงานเองก็มีสัญญาการผลิตที่ต้องส่งไปต่างประเทศตามที่ได้ลงนามไว้ ดังนั้นเมื่อมีการบรูณาการกฎหมายอื่นๆ เข้ามาทำให้หน้ากากอนามัยได้ถูกประกาศเป็นสินค้าควบคุม เราจึงได้ใช้ในประเทศก่อน จะเห็นได้ว่าพรบ.โรคติดต่อไม่สามารถดำเนินการให้สัมฤทธิ์ผลด้วยตัวกฎหมายฉบับเดียว
อย่างไรก็ตาม โรคนี้เป็นโรคที่เพิ่งเกิดขึ้น วิธีการจัดการในการจัดการควาบคุมโรคจะต้องมีการควบคุมคนให้ได้ จึงจำเป็นต้องใช้กลไกในการทำงานภาครัฐบูรณาการร่วมกันและให้อำนาจหน้าที่บุคลากรของทางรัฐได้เข้าไปควบคุมจัดการ ทั้งนี้ประชาชนและภาคเอกชนต้องให้ความร่วมมือจึงจะเห็นผลสำเร็จ
Comments
ข่าวที่น่าสนใจ:
- ‘ประยุทธ์’ตำหนิร้านขายเหล้า-เบียร์ ปล่อยคนแย่งซื้อ ขู่ไม่ปฏิบัติตามปิดทันที!!
- ยักษ์ใหญ่วงการสิ่งพิมพ์ “ไซเบอร์พริ้นท์ กรุ๊ป” ช่วยผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ตั้งโต๊ะแจกข้าวสาร บรรเทาความเดือดร้อนคนตกงาน
- นายกฯ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน!! รับมือโควิด-19 สั่งห้ามเข้าออกพื้นที่เสี่ยงและเคลื่อนย้ายคนจำนวนมาก
- อบจ.สมุทรปราการ เนื้อหอม ต่างชาติรุมตอม.. ล่าสุด!! เกาหลีใต้สนใจลงทุนรถไฟฟ้าโมโนเรล
- นายกรัฐมนตรีเสียใจต่อเหตุการณ์น้ำท่วมใน สปป.ลาว ยืนยันไทยพร้อมให้ความช่วยเหลือเต็มที่