THAI TIME สิงห์บุรี, ไม่มีหมวดหมู่ ชาวนาสิงห์บุรีอ่วม!! ยอมควักกระเป๋าขุดบ่อบาดาล สู้วิกฤตภัยแล้ง!! 2069 Views 25 พฤษภาคม 202025 พฤษภาคม 2020 echo getPostViews(get_the_ID()); admin ท่ามกลางสถานการณ์ในสังคมไทยในตอนนี้ นอกเสียจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 แล้ว อีกหนึ่งวิกฤตที่หลบซ่อนอยู่ในมุมเล็กๆ ของพื้นที่สื่อฯก็คือ วิกฤตภัยแล้ง ซึ่งคนที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นบรรดาพี่น้องเกษตรกร การขุดน้ำบาดาลมาใช้เองจึงเป็นอีกหนึ่งทางออกของการแก้ปัญหานี้ นางสาวนภา อิ่มสำราญ เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในพื้นที่ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี เปิดเผยกับผู้สื่อข่าว THAI TIME เกี่ยวกับผลกระทบจากวิกฤตภัยแล้งว่า ในปีนี้เป็นปีที่แล้งที่สุดเท่าที่ตนเคยประสบมา เนื่องจากในพื้นที่มีฝนตกน้อยมาก ปริมาณน้ำในคลองชลประทานแห้งขอด ทำให้ตนและเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตร โดยตนเองยอมลงทุนจุดเจาะบ่อบาดาล เพื่อแก้ปัญหาระยะยาว นางสาวนภา ชี้แจงว่าต้นทุนในการเจาะบ่อน้ำบาดาลอยู่ที่ประมาณ 1 หมื่นกว่าบาท รวมค่าจ้างรถแม็คโครมาทำการขุด ค่าแรงและค่าอุปกรณ์เบ็ดเสร็จประมาณ 3 หมื่นกว่าบาท แต่โชคดีที่ปีนี้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลพักทัน นำรถแม็คโครมาช่วยชาวบ้านขุด จึงทำให้ประหยัดต้นทุนลงไปได้ สำหรับการขุดบ่อน้ำบาดาลบางครั้งก็มีความเสี่ยงที่จะไม่เจอน้ำ หากขุดไม่ลึกพอ แต่การขุดหนึ่งครั้งก็สามารถทำให้เกษตรกรมีน้ำใช้ไปอีกหลายปี อย่างไรก็ตามเกษตรกรบางรายถึงขั้นต้องยอมตัดใจปล่อยผลผลิตให้ตายไปเนื่องจากไม่มีเงินทุนในการขุดบ่อน้ำบาดาลมาใช้ นางสาวนภากล่าวทิ้งท้ายว่า ทางครอบครัวมีความคิดว่าเราจะไม่รอความช่วยเหลือจากหน่วยงานใด เราต้องช่วยเหลือตัวเองก่อน โดยใช้เงินเราเองทั้งหมด เพราะจำเป็นต้องใช้น้ำเนื่องจากที่ครอบครัวมีที่นาหลายแปลง ถ้าไม่ทำ ก็ไม่มีรายได้ ลูกหลานเราก็ต้องเรียนหนังสือBy : ประดิษฐ์ พิทักษ์ศร ผู้สื่อข่าว THAI TIME ประจำจังหวัดสิงห์บุรี Comments comments ข่าวที่น่าสนใจ: ทุนท้องถิ่นสิงห์บุรีผงาด!? ไชยแสงฯเปิดห้างฯใหม่ CS Park ผุด “ไชยแสงซูเปอร์สโตร์” ชิงลูกค้าแม็คโคร-โลตัส ฟังทัศนะ..ดร.สุรสาล ผาสุข “สิงห์บุรีต้องพัฒนา..พร้อมกันทุกด้าน” กกต.จว.สิงห์บุรีเปิดป้าย 2 หมู่บ้าน..ไม่ขายเสียง แต่แปลก!!! ใช้ควายเป็นสักขีพยาน อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ศิลปินแห่งชาติ จัดพิธีไหว้ครู-ครอบครู ผวจ.สิงห์บุรีลงพื้นที่หนองระหาน วางแผนพัฒนาเป็นที่เก็บน้ำ