ข่าวทั่วไป, ข่าวปัจจุบัน

เตือน 2-3 กันยายน 6 จังหวัดภาคกลาง พื้นที่เสี่ยงเผชิญปัญหาน้ำไหลหลาก!!

875 Views
          นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้ลงนามประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติเรื่อง เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและน้ำท่วมขัง ฉบับที่ 4/2563 ความโดยสรุปว่า
63312
นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
          ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์อิทธิพลของร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ส่งผลให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 2 – 3 กันยายน 2563 นี้
63313
          กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ประเมินสถานการณ์น้ำหลากจากฝนคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) รวมทั้งได้ติดตามสถานการณ์น้ำในลำน้ำ โดยมีพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลาก น้ำท่วมขังบริเวณที่ลุ่มต่ำ ในช่วงวันที่ 2 – 4 กันยายน 2563
จังหวัดอุทัยธานี (อำเภอลานสัก หนองฉาง หนองขาหย่าง และสว่างอารมณ์)
จังหวัดลพบุรี (อำเภอชัยบาดาล)
จังหวัดชัยนาท (อำเภอมโนรมย์ วัดสิงห์ หนองมะโมง หันคา และเนินขาม)
จังหวัดราชบุรี (อำเภอปากท่อ และสวนผึ้ง)
จังหวัดสุพรรณบุรี (อำเภอด่านช้าง)
จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอไทรโยค และด่านมะขามเตี้ย)
          และน้ำท่วมขังผิวจราจรบริเวณกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังนี้
          ติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และแม่น้ำที่มีระดับน้ำสูง รวมทั้งพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังผิวจราจรในพื้นที่ชุมชนเมืองอยู่เป็นประจำ หรือมีสิ่งกีดขวางที่เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ
          เตรียมแผนเผชิญเหตุรับสถานการณ์น้ำหลาก น้ำท่วมขัง และประกาศแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เพื่อช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที
          ติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมชุมชน รวมทั้งวางแผนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ฝนตกหนัก

Comments

comments