ชาวบ้าน 2 ตำบลในพื้นที่อำเภอบางระจัน ที่พักอาศัยอยู่ริมชายฝั่ง 2 ฟากแม่น้ำน้อยระหว่าง หมู่ 9 หมู่10 ตำบลเชิงกลัด หมู่ 8 หมู่ 10 โพชนไก่ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ร้องผ่านสื่อมวลชนว่า ในขณะนี้ที่แม่น้ำน้อยมีผักตบชวาหนาแน่นกีดขวางทางน้ำ ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร ชาวบ้านและปลาหน้าวัด ผู้เลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำน้อยกำลังเดือดร้อน ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขและให้การช่วยเหลือด้วย


นายชิษณุพงศ์ นิลวดีพุฒิพัชร ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชัณสูตร กล่าวว่า แนวทางการกำจัดผักตบชวาในแม่น้ำน้อยตั้งแต่บริเวณวัดโพงามล่องตามน้ำมาจนถึงตลาดชัณสูตร ประมาณ 2 กิโลเมตร ที่มีความหนาแน่นตามลำน้ำนั้น โครงการฯ ได้ประสานกับทางส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 5 สำนักเครื่องจักรกล เพื่อขอรับการสนับสนุนเครื่องจักรกล เพื่อมาดำเนินการกำจัดผักตบชวาในบริเวณดังกล่าวไว้แล้ว ประกอบกับได้นำเครื่องจักรกลพร้อมโป๊ะเรือ เข้ามาดำเนินการกำจัดผักตบชวาแล้วตามแผนการกำจัดใหญ่ที่โครงการฯ วางแผนไว้นั้น คาดว่าจะเร่งรัดให้แล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์ และหลังจากนั้นโครงการฯ จะดำเนินการตามแผนเก็บย่อยต่อเนื่อง โดยใช้เรือนวัตกรรมของโครงการฯ ที่มีอยู่ ทั้ง 4 ลำ อีกทั้งเพื่อเป็นการกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำให้สามารถรองรับการระบายน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป


นายชิษณุพงศ์ นิลวดีพุฒิพัชร ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา กล่าวต่ออีกว่า นอกจากนี้โครงการฯ มีแผนงานติดตั้งทุ่นกักผักตบชวาบริเวณรอยต่อความรับผิดชอบจังหวัดชัยนาทและจังหวัดสิงห์บุรี เพื่อแบ่งขอบเขตความรับผิดชอบในภารกิจดังกล่าวให้ชัดเจน อีกทั้งต้องขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และชุมชน ที่มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำน้อย ให้ช่วยกันรณรงค์ ปลูกจิตสำนัก ช่วยกันเก็บผักตบชวาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเกิดความยั่งยืนต่อไป


อย่างไรก็ตามนายชิษณุพงศ์ พร้อมด้วยนายธีรัตน์ พันธุประกิจ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำน้อย หมู่ 8 ตลาดชันสูตร อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี โดยระบุข้อมูลเพิ่มเติมว่า สถานการณ์น้ำในแม่น้ำน้อย ได้รับการจัดสรรจากสำนักงานชลประทานที่ 12 ในปริมาณน้ำเท่ากับ 15 ลบ.ม/วินาที ซึ่งโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชัณสูตร ได้บริหารจัดการน้ำโดยระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำบางระจันไปด้านท้ายในอัตรา 8 ลบ.ม./วินาที และรับน้ำเข้าระบบคลองส่งน้ำ 1 ขวา อัตรา 7 ลบ.ม./วินาที เพื่อสำหรับการอุปโภค บริโภค รักษาระบบนิเวศ ไม้ผล พืชไร่และพื้นที่ที่ปลูกข้าวที่ไปแล้วที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยทางโครงการฯ ได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ส่วนราชการต่างๆ และเกษตรกรในพื้นที่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง สำหรับการเพาะปลูกข้าวนาปี ขอให้เกษตรกรใช้น้ำฝนเป็นหลักและใช้น้ำชลประทานเสริม
ข่าว : ประนอม พวานนท์ ผู้สื่อข่าว THAI TIME ประจำจังหวัดสิงห์บุรี , ภาพ : คนหลังเลนส์
Comments
ข่าวที่น่าสนใจ:
- สภาอุตสาหกรรมฯร่วมกับภาครัฐ-เอกชน เปิดตู้ปันสุข หน้าเทวาลัยพระพรหม สิงห์บุรี
- ททท.ตรวจความพร้อม ตลาดบ้านระจัน มั่นใจระบบคัดกรองรัดกุม ยืนยัน 30 พ.ค.นี้ เปิดแน่‼️
- มาทีหลังแต่จ่ายหนักกว่า!! เทศบาลเมืองสิงห์บุรี ลงมติเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19 ครอบครัวละ 2,300 บาท
- ถุงยังชีพ อบต.โรงช้างบานปลาย ชาวบ้านส่งตัวแทนบุกร้อง “ลุงตู่” สอบข้อเท็จจริง!!
- ลูกเสี่ยโรงรำสิงห์บุรี ร่วมต้านโควิด บริจาคอุปกรณ์พ่นยา-เครื่องวัดอุณหภูมิ 15 หมู่บ้าน